อธิบดีกรมโยธาฯ ร่วมกับ ที่ปรึกษาปลัดมหาดไทย ติวเข้ม ทีมออกแบบ การพัฒนาพื้นที่ตามแนวทาง "อารยเกษตร" จาก 6 จังหวัด
วันนี้ (5 มกราคม 2567) เวลา 11.00 น. นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง บรรยายพิเศษในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบพื้นที่โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ (แก้มลิง) แบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ" โดยมีนายเกียรติศักดิ์ อมรประเสริฐสุข ผู้อำนวยการสำนักวิศวกรรมการผังเมือง กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายธนวัฒน์ ปิ่นแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก นายอิทธิพงศ์ ตันมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง นางสาวสุภัทรา ชัยเทวารัณย์ นายภพ ภูสมปอง นายสุวิทย์ เถื่อนน้อย ผู้ตรวจราชการกรมโยธาธิการและผังเมือง นายธนารักษ์ วรปรีชาพันธุ์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครนายก นายสุมล เกียงแก้ว วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ สำนักสนับสนุนและพัฒนาตามผังเมือง นายอุดม จิตตวงค์ ผู้อำนวยการกองผังเมืองเฉพาะ ร่วมรับฟังการบรรยาย โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 – 8 มกราคม 2567 มีผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายและร่วมถ่ายทอดความรู้ อาทิ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล และนายคณิต ธนูธรรมเจริญ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก จังหวัดนครนายก
โดยกระทรวงมหาดไทย ได้มอบหมายให้กรมโยธาธิการและผังเมือง ดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ (แก้มลิง) แบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 สำหรับการประชุมและการฝึกปฏิบัติในครั้งนี้ เป็นการถ่ายทอดและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการพัฒนาพื้นที่แบบอารยเกษตร ตามแนวพระราชดำริ ให้แก่เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เป้าหมาย 6 จังหวัด (จังหวัดกาญจนบุรี , จังหวัดพะเยา , จังหวัดอุบลราชธานี , จังหวัดนครนายก , จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดสตูล) ประกอบด้วย นายอำเภอ ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้แทนจากกรมการพัฒนาชุมชน เจ้าหน้าที่จากสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากสำนัก/กอง ที่เกี่ยวข้องของกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้สามารถดำเนินการออกแบบแนวคิดการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายได้ และเกิดการสร้างเครือข่าย ประสานงานแบบบูรณาการ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดและประสบการณ์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนโครงการ เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาน้ำท่วม – น้ำแล้ง และช่วยเก็บกักน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร ฟื้นฟูระบบนิเวศเพื่อเป็นแหล่งอาหารแก่ชุมชน ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น