กรุณาระบุคำค้นหาที่ท่านต้องการ

28
ม.ค. 68
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติ การวางแผนและผังเมือง การออกแบบสถาปัตยกรรม เพื่อส่งเสริมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเมืองสำหรับทุกคน
หน่วยวิจัยด้านอนาคตและนโยบายเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับโครงการ START International และโครงการ Educational Partnerships for Innovations in Communities Network (EPIC-N) เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด นวัตกรรม จากภาควิชาการและภาคปฏิบัติด้านการผังเมืองและสถาปัตยกรรมในระดับนานาชาติ เพื่อการบริหารจัดการชุมชนในเขตเมืองให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ เพื่อให้โลกเกิดความยั่งยืนและรักษาสิ่งแวดล้อม

              เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2568 นางสาวรัฐติการ คำบุศย์ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ และนายภูมิ คำชำนาญ  นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักผังประเทศและผังภาค และสำนักผังเมืองรวม เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการนานาชาติ  การวางแผนและผังเมือง และการออกแบบสถาปัตยกรรม เพื่อส่งเสริมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเมืองสำหรับทุกคน ณ ห้องฮิลล์เครส ชั้น 5 โรงแรม เดอะ ควอเตอร์ ลาดพร้าว บาย ยูเฮชจี กรุงเทพฯ

              การสัมมนาดังกล่าว ดำเนินการโดยหน่วยวิจัยด้านอนาคตและนโยบายเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับโครงการ START International และโครงการ Educational Partnerships for Innovations in Communities Network (EPIC-N) เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด นวัตกรรม จากภาควิชาการและภาคปฏิบัติด้านผังเมืองและสถาปัตยกรรมในระดับนานาชาติ เพื่อการบริหารจัดการชุมชนในเขตเมือง ให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้โลกเกิดความยั่งยืนและรักษาสิ่งแวดล้อม

              ในการนี้ ผศ.ชล บุนนาค ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมด้วย นายโกเมศ พุทธสอน รองอธิบดี กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และนายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ให้เกียรติกล่าวในพิธีเปิดการสัมมนา ทั้งนี้ ได้มีอาจารย์ และนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ จากประเทศในภูมิภาคเอเซีย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ร่วมให้การบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านการผังเมือง และพัฒนาเมืองให้เกิดความยั่งยืนและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายทางธรรมชาติ ในอนาคต นอกจากนี้ ยังได้รับความร่วมมือจาก University of Wisconsin-Madison ประเทศ สหรัฐอเมริกา และ TU Dortmund University ประเทศเยอรมนี ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และแนวปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับภูมิภาคเอเชีย รวมถึงในประเทศไทย

แท็ก
กลับไปหน้ารวมข่าวสาร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง